เมนู

ขนฺธานํ ปฏิปาฏิ ธาตุ อายตนา น จ
อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยัง
เป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่าสงสาร.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ คือ
เป็นมูลเหตุแห่งสงสาร ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น เพราะตัดขาดแล้ว
โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
จบอรรถกถาโมหสูตรที่ 4

5. กามสูตร


ว่าด้วยกามตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปนาน


[193] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้สังโยชน์อันหนึ่งอย่างอื่น
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประกอบแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือน
สังโยชน์ คือ ตัณหานี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย
สังโยชน์ คือ ตัณหาย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุรุษ ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่อง-
เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง

สงสารอันมีความเป็นอย่างนี้และความเป็น
อย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้ตัณหาซึ่งเป็นแดน
เกิดแห่งทุกข์นี้โดยความเป็นโทษแล้ว เป็น
ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติ พึง
เว้นรอบ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบกามสูตรที่ 5

อรรถกถากามสูตร


ในกามสูตรที่ 5 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า ผูกมัดบุคคลผู้มีสังโยชน์ไว้ด้วยกรรม
และวิบากอันเป็นทุกข์ หรือด้วยลำดับของภพ ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณ
ฐิติ และสัตตาวาส เป็นต้น ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่าเป็นที่มาของ
ความอยาก. ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่า ทำให้สะดุ้งหรือหวาดเสียว. บทว่า
สํยุตฺตา ได้แก่ ผูกมัดในอภินิเวสวัตถุ (วัตถุเครื่องยึดมั่น) มีจักษุเป็นต้น .
บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
อนึ่ง ในที่นี้แม้อวิชชาก็เป็นสังโยชน์ และตัณหาเป็นนิวรณ์ยังมีอยู่
โดยแท้ ถึงดังนั้น ตัณหาย่อมผูกมัดสัตว์ด้วยภพอันมีโทษทีถูกอวิชชาปกปิดไว้
เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความต่างกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอวิชชาไว้
ในสูตรก่อนโดยความเป็นนิวรณ์ และตรัสตัณหาไว้ในสูตรนี้โดยความเป็น